การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนจากอาการที่กล่าวมา หากปฏิบัติตามคำแนะนำหรือรับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม เช่น

การส่องกล้องทางเดินอาหาร

การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง

การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร

การตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งให้ผลที่ไวในการวินิจฉัยโรคที่สุด

การปฏิบัติตัวโรคกรดไหลย้อน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่มาก สามารถรักษาได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้

ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรืออ้วนเกินไป

หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต

หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป

ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง

ปรับหรือหนุนหัวให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด